โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

28 กุมภาพันธ์ 2560

a:2:{s:2:"TH";s:89886:"

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่ตั้งของโครงการ

      ดำเนินการโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี ที่ตั้งของโครงการฯ ตามกิจกรรมที่ดำเนินงาน ดังนี้

กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช   ตั้งอยู่ที่วัดเขาดินญานนิมิต ม.7 ต.หัวถนน อ.พนัสนิคม 

จ.ชลบุรี วัดเขาคีรีรมย์ ม.3 ต.หัวถนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี  และพื้นที่จิตตภาวันวิทยาลัย ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 

กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช ตั้งอยู่ที่วัดทรงธรรม ม.2 ต.หนองปรือ 

อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ภาคตะวันออก วิทยาเขตบางพระ 
พระราชดำริของ

        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สรุปพระราชดำริ

1. พ.ศ.2535 ทรงเริ่มโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ

     เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   

     มีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการ 

    โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

    โดยมอบให้ฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับ

    ปีงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน

    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ 

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรม

    พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณ ขึ้นในปี พ.ศ. 2536

    สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณ

   ดำเนินงานในทุกกิจกรรมของโครงการฯ 

2. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ณ อาคารที่ประทับในสำนักงานชลประทานเขต 1 

     ถนนทุ่งโฮเตล จังหวัดเชียงใหม่

-       มีพระราชปรารภถึงการเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปทางจังหวัดนนทบุรีทอดพระเนตรเห็นพันธุ์ไม้เก่ายังมีอยู่มาก บางพันธุ์อาจยังคงมีลักษณะดีอยู่ เช่น ทุเรียน แต่สวนเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสภาพไป จึงทรงห่วงว่าพันธุ์ไม้

       เหล่านั้นจะหมดด้วย

-       พระราชทานแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควรอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่มิใช่พืชเศรษฐกิจไว้ด้วย

-       ตามเกาะต่าง ๆ มีพืชพรรณอยู่มาก แต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไร จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณตามเกาะด้วย

-       พระราชทานแนวทางการสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควรใช้วิธีปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจของพืชพรรณ และเกิดความปิติที่จะศึกษาและอนุรักษ์ต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้ความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียดซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว

-       มีพระราชดำริให้ทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช โดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงลักษณะของพืชออกมาเป็นภาพสีได้ เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงค้นคว้า

3. วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จังหวัดตาก

-       พระราชทานแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

-       การนำต้นไม้มาปลูกเพิ่มเติมให้เด็กรู้จักนั้น ต้องไม่มีพืชเสพติด

-       ควรให้เด็กหัดเขียนตำรา จากสิ่งที่เรียนในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

-       ควรนำตัวอย่างดิน หิน แร่ มาแสดงไว้ในห้องพิพิธภัณฑ์พืชด้วยเพราะในจังหวัดตาก มีหิน แร่ อยู่มากชนิด

4. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2539 ณ เขาเสวยกะปิ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย  

     อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี

-       ทรงให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่เกาะละวะ

-       ทรงให้อนุรักษ์ต้นหว้าใหญ่ในบริเวณพระราชวังไกลกังวล ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นต้นหว้าที่ขึ้นอยู่ในที่นั้นก่อนมีการก่อสร้างพระราชวัง

-       ทรงให้ทำการสำรวจขึ้นทะเบียนรหัสต้นพืชที่ขึ้นอยู่เดิม ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

-       ทรงให้วัดพิกัดตำแหน่งของต้นพืชที่ขึ้นทะเบียนไว้

-       ทรงให้รวบรวมพันธุกรรมหวายชนิดต่าง ๆ

-       ทรงให้มีการปลูกรักษาพันธุกรรมพืชไว้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

       อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส

5. วันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ณ อาคารชัยพัฒนา พระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา  

     กรุงเทพฯ

-       ทรงให้หาวิธีดำเนินการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับพันธุกรรมพืชของหน่วยงานต่าง ๆ สื่อถึงกันในระบบเดียวกันได้

-       ทรงให้หาวิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดความสนใจในพืชพรรณต่าง ๆ และเกิดความสงสัยตั้งคำถามตนเองเกี่ยวกับพืชพรรณที่ตนสนใจนั้น ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าวิจัย ทดลองอย่างง่าย ๆ ที่โรงเรียนที่ไม่มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

       ดีนักก็สามารถดำเนินการได้ หากอาจารย์ในโรงเรียนต่าง ๆ ทำได้ก็ช่วยให้เด็ก 

      เป็นคนฉลาด

6. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2541

         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายพิศิษฐ์ วรอุไร ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เมื่อคราวนำคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิ TOTAL และเจ้าหน้าที่ป่าไม้จากประเทศฝรั่งเศสเข้าเฝ้าถวายรายงานการสำรวจเบื้องต้นที่เกาะแสมสาร โดยมีพระราชดำริสรุปได้ดังนี้

-       ให้ดำเนินการทั้ง 9 เกาะ เกาะแสมสารและเกาะข้างเคียว

-       ให้ศึกษาตั้งแต่ยอดเขาจนถึงใต้ทะเล

-       ให้มีการรวบรวมพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งพืชบนดิน และพืชน้ำ โดยเน้นระบบนิเวศวิทยาแบบภาพรวมทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงสัตว์ต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ได้รวมเอาเกาะเล็ก ๆ รอบเกาะแสมสารเข้าในโครงการในลักษณะผสมผสาน เนื่องจากอยู่ใกล้กันและมีความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน ให้ทำการสำรวจทั้งด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา แร่ธาตุ ฯลฯ ไปพร้อม ๆ กัน

7. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541

     เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในคราวเสด็จฯ ทอดพระเนตรความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ ณ เกาะแสมสาร ดังนี้

-       ให้แสมสารเป็นแหล่งศึกษา

-       การดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกาะแสมสารควรพิจารณาหาแหล่งน้ำจืดให้เพียงพอ

-       แนวการดำเนินโครงการ

  •  การดำเนินงานในเบื้องต้น อาคารสิ่งก่อสร้าง ควรทำในลักษณะชั่วคราวและเรียบง่าย ไม่ควรจัดให้มีที่พักนักท่องเที่ยว และให้ชมรม อาสาสมัครเข้ามาช่วยดำเนินการในด้านการเรียนรู้ การเผยแพร่ผลการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ 
  • ควรจัดกลุ่มเยาวชนเข้ามาศึกษาธรรมชาติในลักษณะ organized tour โดยให้ความสำคัญต่อกลุ่มเยาวชนที่มีฐานะยากจน สอนให้รักธรรมชาติให้รู้ว่าทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ ยังไม่ควรที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์การเดินทางมาท่องเที่ยวให้มากนัก ให้ใช้เป็นที่สำหรับให้อาจารย์ นิสิต 
  • นักศึกษาเข้ามาใช้ทำการศึกษาวิจัยได้

. วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ณ เกาะแสมสาร

      พระราชทานแนวทางในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ณ เกาะแสมสารเพิ่มเติม ดังนี้

      “เกาะแสมสารมีขนาดเล็ก ระบบนิเวศน์เปลี่ยนง่าย ให้จัดเกาะแสมสารเป็นที่ศึกษาและให้นำเยาวชนโดยเฉพาะเยาวชนด้อยโอกาสเข้ามาศึกษา”

9. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

      พระราชทานพระราชดำริกับนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เลขาธิการ กปร. ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปความว่า ขอให้สำนักงาน กปร. และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทเพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน โดยไม่ควรจะขยายพื้นที่ดำเนินการออกไปมาก

10. วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2547 ทรงมีพระราชวินิจฉัยในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ 

       อนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

        1. ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ คลองไผ่ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

        2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (แปลง 905)

11. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 ในเรื่อง DNA Fingerprint

       ทรงมีพระราชกระแส ในเรื่อง “การดำเนินการ ให้มีการทำ DNA Fingerprint ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร เวลาประมาณ 16.00น. กับนายพรชัย จุฑามาศ ความว่า

       “ได้ไปกับ สมศ. (สำนักมาตรฐานการศึกษา)มา เห็นว่าโรงเรียนยังสัมพันธ์กับชุมชนน้อย ทำอย่างไร ให้ชุมชนมาให้โรงเรียน โดยเฉพาะนักเรียน ช่วยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และให้มีการทำ DNA Fingerprint ในโรงเรียน”

12. วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2548 ในเรื่องพันธุกรรมเห็ด

       ในการประชุมวิชาการและนิทรรศการ “ทรัพยากรไทย : สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว” ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ คลองไผ่ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 19 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ทรงมีพระราชกระแสกับนายพรชัย จุฑามาศ ระหว่างเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการสรุปของหน่วยงาน ส่วนราชการ ที่สนองพระราชดำริฯบอร์ดนิทรรศการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

        พระราชกระแสโดยสรุป

      “ให้ทำเรื่องพันธุกรรมเห็ด มีพระสหายทำงานร่วมกับต่างประเทศ ข้อมูลและพันธุกรรมเห็ด ถูกนำเอาไปหมด”

 

13. วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในเรื่องพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย

       ทรงมีพระราชกระแสกับรองผู้บังคับการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ระหว่างเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ คลองไผ่ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ความว่า

       “พิพิธภัณฑ์นี้ทหารเรือจะดูแลเองใช่หรือไม่”

14. ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในเรื่องเกาะแสมสาร

       ทรงมีพระราชกระแสกับผู้ร่วมโต๊ะเสวยในส่วนกองทัพเรือ พระราชทานให้กับผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ (พลเรือเอกกำธร พุ่มหิรัญ) และผู้ร่วมโต๊ะเสวย อาทิ เลขาธิการพระราชวัง (นายแก้วขวัญ วัชโรทัย) กรรมการที่ปรึกษาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (ฯพณฯ องคมนตรี อำพล เสนาณรงค์ ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร) เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ โต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวัน ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ณ ศูนย์ฝึกอบรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ คลองไผ่ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

       พระราชกระแสโดยสรุป

       “ไม่ควรมีสิ่งก่อสร้างเพื่อการพักค้างคืน บนเกาะแสมสาร”

   “ทรงรับทราบการจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งต่อไปในปี พ.ศ.2550 ในเรื่อง “ทรัพยากรไทย : ประโยชน์แท้แก่มหาชน” ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และจะเปิดพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนเข้าชม”
วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.       ให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช

2.       ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย

      3.     ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ
หน่วยงานรับผิดชอบ
      สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี
ประเภทของโครงการ
      การเกษตร และสิ่งแวดล้อม
สรุปลักษณะของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช

                      เป็นกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติให้พื้นที่ปกปักพื้นที่ป่าธรรมชาติ ให้มี

กระจายอยู่ทั่วประเทศ ในทุกเขตพรรณพฤกษชาติ ดำเนินงานนอกพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ ดำเนินการในพื้นที่ป่าธรรมชาติของส่วนราชการ ศูนย์วิจัย สถานีทดลอง สถาบันการศึกษาพื้นที่ที่ประชาชนร่วมกันปกปักรักษา จากนั้นมีการสำรวจขึ้นทะเบียน

 

ทำรหัสประจำต้น ทำการศึกษาด้านชีววิทยา สนับสนุนให้มีอาสาสมัครระดับหมู่บ้าน ซึ่งหากรักษาป่าดั้งเดิมไว้ได้ก็จะรักษาพันธุกรรมดั้งเดิมซึ่งจะทำการศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปเมื่อมีความพร้อม

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

1.1    การสำรวจทำรหัสประจำต้น และขึ้นทะเบียนพันธุกรรมพืชในพื้นที่ขององค์กรในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ป่าที่ชาวบ้านร่วมใจปกปักรักษา ป่าในสถาบันการศึกษา ป่าที่ใช้พื้นที่สวนสัตว์ ป่าในพื้นที่บริเวณเขื่อนต่าง ๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

1.2    การสำรวจ ทำรหัสประจำต้น และขึ้นทะเบียนพันธุกรรมพืชที่นำเข้าจากต่างประเทศมาปลูกดูแลรักษา ในลักษณะสวนรวบรวมพันธุ์พืชโดยเอกชน

1.3    สนับสนุนให้มีอาสาสมัครปกปักรักษาพันธุกรรมพืชในระดับหมู่บ้าน

1.4    สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและศึกษาด้านอนุกรมวิธานพืช

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช

                      เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมในพื้นที่ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงหรือสูญสิ้นจากการพัฒนา เช่น จากการทำอ่างเก็บน้ำ ทำถนน เปลี่ยนแปลงจากป่าธรรมชาติเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือการทำโรงงานอุตสาหกรรม การจัดทำบ้านจัดสรรฯลฯ ซึ่งพันธุกรรมในพื้นที่เหล่านั้นจะสูญไป การนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ออกสำรวจเก็บรวบรวม ในรูปเมล็ด กิ่ง ต้น เป็นการดำเนินการนอกพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ในทุกเขตพรรณพฤกษชาติ

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

2.1    การสำรวจเก็บรวบรวมตัวอย่าง เก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชในพื้นที่เป้าหมายบริเวณรัศมี 50 กิโลเมตร ของหน่วยงานนั้น ๆ หรือพื้นที่ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา เช่น พื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำ พื้นที่สร้างถนน หรือขยายทางหลวงหรือเส้นทางต่าง ๆ พื้นที่สร้างสายไฟฟ้าแรงสูง และในพื้นที่อื่น ๆ ที่จะถูกพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม

2.2    การเก็บรวบรวมตัวอย่างแห้ง (Herbarium Specimens) และตัวอย่างดอง

2.3    การเก็บพันธุกรรมพืช มีการเก็บในรูปเมล็ด ต้นพืชมีชีวิต ชิ้นส่วนพืชที่มีชีวิต (เพื่อนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ)

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

                      เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โดยการนำพันธุกรรมไปเพาะและปลูกในพื้นที่ที่ปลอดภัย   ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่อง       มาจากพระราชดำริฯ ที่มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ ในพื้นที่ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร พื้นที่ที่จังหวัดหรือสถาบันการศึกษา ทูลเกล้าฯถวายเข้าร่วมสนองพระราชดำริ และยังมีการเก็บรักษาในรูปเมล็ดและเนื้อเยื่อในธนาคารพืชพรรณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สวนจิตรลดา เก็บในรูปสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ในธนาคารพืชพรรณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สวนจิตรลดา และที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

1.1    การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริต่าง ๆ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศูนย์บริการการพัฒนาการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น

1.2    การเก็บรักษาทั้งในรูปของเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้นพันธุกรรมพืชในแปลงปลูกและการเก็บรักษาในรูปสารพันธุกรรม (DNA)

1.3    การตรวจสอบพืชปราศจากโรคก่อนการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในรูปแบบต่าง ๆ

1.4    การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ การปลูกพืชในสถานศึกษา การปลูกพืชในสวนสาธารณะต่าง ๆ โดยมีระบบฐานข้อมูล ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

1.5    งานขยายพันธุ์พืช งานปลูกพันธุกรรมพืชและบันทึกผลการเจริญเติบโต งานจัดทำแผนที่พันธุกรรมและทำพิกัดต้นพันธุกรรม

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช

                      เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืช ที่สำรวจเก็บรวบรวมมาปลูกรักษาไว้ โดยมีการศึกษาประเมินในสภาพธรรมชาติ แปลงทดลอง   ในด้านสัณฐานวิทยา ชีววิทยา สรีรวิทยา การปลูกเลี้ยง การเกษตรตกรรม  สำหรับในห้องปฏิบัติการมีการศึกษาด้านโภชนา องค์ประกอบ รงควัตถุ กลิ่น การใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อศึกษาคุณสมบัติ คุณภาพ ในแต่ละสายต้นโดยความร่วมมือจากคณาจารย์นักวิจัย ของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองต่าง ๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

4.1    การวิเคราะห์ทางกายภาพ เช่น ตัวอย่างดิน คุณสมบัติของน้ำ จากแหล่งกำเนิดพันธุกรรมดั้งเดิมของพืชนั้น ๆ

4.2    การศึกษาทางด้านชีววิทยา สัณฐานวิทยา สรีรวิทยา ชีวเคมี พันธุกรรมของพันธุกรรมพืชที่คัดเลือกมาศึกษา เป็นต้น

4.3    การศึกษาด้านโภชนา องค์ประกอบของสาระสำคัญในพันธุกรรมพืชไม่ว่าจะเป็นรงควัตถุ กลิ่น ตลอดจนสารด้านเภสัชวิทยา สารที่มีฤทธิ์ต่าง ๆ ของพันธุกรรมพืชเป้าหมาย

4.4    การศึกษาการขยายพันธุ์ด้วยการขยายพันธุ์ตามปกติ และการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

4.5    การศึกษาด้านการปลูกเลี้ยงให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ การศึกษาการเขตกรรมของพันธุกรรมพืชที่ต้องการ

4.6    การศึกษาการจำแนกสายพันธุ์โดยวิธีทางชีวโมเลกุลพืช เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์พืช และเก็บเป็นลายพิมพ์ดีเอ็นเอพืชชนิดนั้น ๆ

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช

                      เป็นการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ที่สวนจิตรลดา บันทึกข้อมูลของการสำรวจเก็บรวบรวม การศึกษาประเมิน การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งงานจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้แห้ง โดยทำการบันทึกลงในระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชของประเทศ และให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่สามารถสื่อกันได้ทั่วประเทศ

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

5.1    จัดทำโปรแกรมสำหรับระบบศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ในด้านการสำรวจเก็บรวบรวม การอนุรักษ์ การประเมินคุณค่าพันธุกรรม และการใช้ประโยชน์

5.2    นำข้อมูลของตัวอย่างพืชที่เก็บรวบรวมไว้เดิมโดยหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริองค์กรอื่น เช่น กรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น เข้าเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช

5.3    นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช ข้อมูลการปลูกรักษา ข้อมูลการใช้ประโยชน์ ข้อมูลพันธุ์ไม้จากโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เข้าเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช เพื่อการประเมินคุณค่าพันธุกรรมและนำไปสู่การวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช

 

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช

                      เป็นกิจกรรมที่นำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืชที่ได้จากการศึกษาประเมินการสำรวจเก็บรวบรวม การปลูกรักษาพันธุกรรมพืชที่มีนำมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิศึกษาและวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์ตามความต้องการในอนาคต โดยเป็นการวางแผนระยะยาว 30 – 50 ปี สำหรับพันธุ์พืชลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นที่ต้องการของ

ช่วงเวลานั้น ๆ เป็นการพัฒนาโดยมีแผนล่วงหน้า เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้แผนพัฒนาพันธุ์พืชเป้าหมายแล้ว จึงนำทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระราชทานให้กับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช เช่น กรมวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นต้น

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

6.1    คัดเลือกพันธุ์พืชที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้วว่าควรมีการวางแผนพัฒนาพันธุ์เพื่อการใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

6.2    ดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวายแผนการพัฒนาพันธุ์พืชที่คัดเลือกแล้ว เพื่อให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระราชทานให้กับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดนั้น ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

6.3    ประสานงานเพื่อให้หน่วยงานที่มีความพร้อมในการพัฒนาพันธุ์พืชดำเนินการพัฒนาพันธุ์พืช และนำออกไปสู่ประชาชน และอาจนำไปปลูกเพื่อเป็นการค้าต่อไป

6.4    ดำเนินการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชใหม่ที่ได้มาจากการพัฒนาพันธุ์พืชดั้งเดิม

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

                      เป็นกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึก ให้เยาวชน บุคคลทั่วไปให้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืช ให้รู้จักหวงแหน รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของประเทศ ซึ่งพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการกับเยาวชน โดยการฝึกอบรมให้เห็นประโยชน์ ความงดงาม เกิดความปิติที่จะทำการอนุรักษ์ แทนที่จะสอนให้อนุรักษ์แล้วเกิดความเครียด ในกิจกรรมนี้มี “งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เป็นสื่อ โดยการดำเนินงานให้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นที่รวบรวมพรรณไม้ที่มีชีวิต มีที่เก็บพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง มีห้องสมุดสำหรับค้นคว้า มีการศึกษาต่อเนื่อง รวมทั้งให้โรงเรียนเป็นที่รวบรวมพรรณไม้ท้องถิ่นที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ และจะเป็นที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของ