กิจกรรมฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีที่เป็นสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ
ที่ดําเนินการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
การดําเนินงานของศูนย์เรียนรู้
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ
กิจกรรมฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กิจกรรมโรงเรียนที่เป็นสมาชิก
กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และโรงเรียนที่มีผลงานโดดเด่น
กลับหน้าหลัก กลับหน้ากิจกรรมฐานทรัพยากรท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลับหน้าโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีที่เป็นสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง ตำบลบ้านช้าง อำเภอพนัสนิคม : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น)

  • ประเภทโครงการ โครงการฐานทรัพยากรท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สถานะของโครงการ สามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่
  • หน่วยงานรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง
  • ที่ตั้งโครงการ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านช้าง หมู่ที่ 7 โทร. 0-3846-2059 ต่อ 14
  • ผู้ประสานงาน/รับผิดชอบโครงการ/ให้ข้อมูล นางอาภาพร นาคโชติ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง โทร. 0-3846-2059 ต่อ 14
  • พิกัดที่ตั้ง (N,E) 13.444956, 101.187107
  • ปีที่ก่อสร้าง เริ่มต้นก่อสร้างตามแผนแม่บทระยะที่ 5 ปีที่ 7 (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565) ก่อสร้างแล้วเสร็จ -
  • ประวัติความเป็นมาของโครงการ (โดยสังเขป) สืบเนื่อง มาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่เมื่อครั้งปี พ.ศ.๒๕๐๓ ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ต้นยางนา และทรงให้รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ของภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้น เพื่อสนองแนวพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์ โดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกรานการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุ์กรรมพืช
  • ลักษณะโครงการ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร
  • ความสำคัญของโครงการ สนองพระราชดำริตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น)
  • ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงการ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาตำบลบ้านช้าง
  • องค์ความรู้สำคัญของโครงการ สร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทยตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ
  • จุดเด่นของโครงการ 1ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางพันธุกรรมพืช 2สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดูแลพันธุ์ไม้ที่ควรแก่การอนุรักษ์ รักษาไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้รู้จักและสืบสานให้คงอยู่ต่อไป
  • ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแก่เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความร่วมใจอนุรักษ์พืชของไทย ให้คงอยู่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป
  • ภาพประกอบ (ในอดีต) -
  • ภาพประกอบ (ในปัจจุบัน) -