กิจกรรมฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีที่เป็นสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ
ที่ดําเนินการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
การดําเนินงานของศูนย์เรียนรู้
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ
กิจกรรมฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กิจกรรมโรงเรียนที่เป็นสมาชิก
กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และโรงเรียนที่มีผลงานโดดเด่น
กลับหน้าหลัก กลับหน้ากิจกรรมฐานทรัพยากรท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลับหน้าโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีที่เป็นสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ ตำบลมาบไผ่ อำเภอบ้านบึง : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฐานทรัพยากรท้องถิ่น ตำบลมาบไผ่

  • ประเภทโครงการ โครงการฐานทรัพยากรท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สถานะของโครงการ สามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่
  • หน่วยงานรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่
  • ที่ตั้งโครงการ 200 ม.1 ต.มาบไผ่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170 โทร. 094-423-3935
  • ผู้ประสานงาน/รับผิดชอบโครงการ/ให้ข้อมูล นายมาโนช มณฑา ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน โทร. 094-423-3935
  • พิกัดที่ตั้ง (N,E) 13.21, 101.05
  • ปีที่ก่อสร้าง เริ่มต้นก่อสร้าง15 สิงหาคม 2560 ก่อสร้างแล้วเสร็จ16 สิงหาคม 2560
  • ประวัติความเป็นมาของโครงการ (โดยสังเขป) จากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช ปลูกรักษาพันธุกรรมพืช อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช วางแผนพัฒนาพันธุ์พืช สร้างจิตสำนึกในการพัฒนาพันธุกรรมพืช และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทางองค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ ได้ร่วมประชุมรับทราบการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และแนวทางที่ตำบลมาบไผ่จะเข้าร่วมสนองพระราชดำริ การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น โดยนำพระราชกระแสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ทำอย่างไรให้ชุมชน มาให้โรงเรียน โดยเฉพาะนักเรียน ช่วยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และมีการทำ DNA Fingerprint ในโรงเรียน” การนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน มัสยิด ในตำบลมาบไผ่ เห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินกิจกรรมตามศักยภาพความพร้อม และจัดตั้ง “ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นตำบลมาบไผ่” เพื่อเป็นฐานทรัพยากรในการพึ่งตนเอง สู่เศรษฐกิจพอเพียง เกิดประโยชน์แท้แก่ชุมชนตำบลมาบไผ่และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

    อาศัยอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดที่ 2 มาตรา 16 (24) การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดสาธารณะ ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ในด้านการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จึงเห็นสมควรที่จะดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นดำเนินการอนุรักษ์ไม่เพียงเฉพาะเรื่องทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังดำเนินการใน
  • ลักษณะโครงการ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
  • ความสำคัญของโครงการ 1เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2เพื่อดำเนินงานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในตำบลมาบไผ่ 3เพื่อสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ชุมชน และสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจถึง ความสำคัญ ประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงการ 1อพ.สธ.-ตำบลมาบไผ่ ได้ร่วมสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2ตำบลมาบไผ่มีฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งมีทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาตำบลมาบไผ่ 3นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • องค์ความรู้สำคัญของโครงการ เป็นโครงการที่ใช้แนวคิด ทฤษฎี แนวทางของภูมิปัญญาท้องถิ่น จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานโครงการได้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • จุดเด่นของโครงการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี
  • ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ 1สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2รวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากร ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในตำบลมาบไผ่ 3สร้างจิตสำนึกและความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ชุมชน และสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  • ภาพประกอบ (ในอดีต) กิจกรรมอบรมปฏิบัติการสำรวจ วันที่ 15 สิงหาคม 2560
  • ภาพประกอบ (ในอดีต) กิจกรรมปฏิบัติการสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลมาบไผ่ วันที่ 16 สิงหาคม 2560
  • ภาพประกอบ (ในปัจจุบัน) -